หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

🍭การเรียนรู้ในวันนี้🍼

เนื่องจากคาบเรียนที่แล้วอาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาทุกคนเขียนแผนการจัดกิจกรรมเครื่องไหวและจังหวะของตนเอง และทดลองสอนให้ครบทุกคน จากนั้นได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่แต่ละคนได้ทดลองสอน


กิจกรรมในวันนี้ (กิจกรรมการเคลื่อนไหว)

กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้นักศึกษาจัดเก้าอี้เป็นครึ่งวงกลมให้ทุกคนแนะนำตัวเป็นชื่อของตนเองโดยแนะนำเป็นการทำเสียงจากอวัยวะส่วนต่างๆ เช่นการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหรือมัดใหญ่ในการทำท่าทางประกอบการแนะนำตัว 

กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ได้เปิดเพลง Chicken Dance
ให้นักศึกษาได้เต้น และออกแบบท่าเต้นประกอบเพลง ของตนเองตามจินตนาการ

กิจกรรมที่ 3 สุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษา แบ่งกลุ่มกลุ่มละจำนวน 7 คนเพื่อช่วยกันคิดท่าทางประกอบเพลง Chicken Dance


และได้ให้ความรู้ คือ กิจกรรมนี้เป็นการสอนให้เด็กฟังเสียงจังหวะที่แตกต่างกันโดยใช้ความแตกต่างของจังหวะเพื่อปรับเปลี่ยนท่าทางประกอบเพลง



เนื้อหาที่อาจารย์ได้ให้ความรู้
การให้ความรู้ เกี่ยวกับกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนากระบวนการคิดของเด็กช่วยให้สมองส่วนหน้าของเด็กได้ทำงานทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อข้อมูลจากประสบการณ์เดิมเข้ากับประสบการณ์ปัจจุบันหรือเป็นการพัฒนาความรู้EFของเด็กและอาจารย์ได้ให้ความรู้เรื่อง EF



💚การประเมิน💛

ประเมินตนเอง
มีความพร้อมในการเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จัดทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมาย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการเตรียมความพร้อมในการสอน และอุปกรณ์ต่างๆ



วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

🌳การเรียนรู้ในวันนี้🌺

อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละจำนวน 5 คนแล้วให้ปรึกษากันว่า ต้องการจัดกิจกรรมให้เด็กในหน่วยใด โดยการไปศึกษาจากแผนการจัดการเรียนรู้ของรุ่นพี่ ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เลือกหน่วยเมืองไทยที่รัก

🍈เนื้อหาที่อาจารย์ได้ให้ความรู้🍉

หลักการในการคิด การเลือกเนื้อหาหรือหน่วยในการสอน

💙1.เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 5 พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัย ซึ่งมีลักษณะต่อเนื่อง เหมือนขั้นบันได ที่มีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละขั้นมีความสำคัญ ถ้าขั้นไหนพัฒนาได้ไม่เต็มที่ก็จะส่งผลในขั้น ต่อๆไป
💚2.สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
💛3.ดูจากที่เด็กต้องการที่จะทำ ตามวัยของเด็ก
💜4.เรื่องที่เด็กสนใจ และส่งผลกับตัวเด็ก
💙5.ดูจากสิ่งที่เด็กให้ความสนใจ และสิ่งที่อยู่ใกล้ด้วเด็ก สิ่งที่มีผลกับตัวเด็กในชีวิตประจำวัน

🍇การจัดประสบการณ์🌿
👉มีความสอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก
👉เด็กได้ลงมือทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กได้เคลื่อนไหว สังเกต เล่น สังเกต สิบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
👉ให้เด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความรู้
👉ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
👉ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน
👉สิ่งที่วัดว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ
👉การที่เด็กตอบคำถามได้
👉เด็กสามารถปฏิบัติจริงได้
👉เด็กสามารถอธิบาย ร้องเพลง ทำกิจกรรมได้

🍍ขั้นตอนในการสอนทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ🍌
🙊ขั้นตอนที่1 ครูและเด็กพูดคุยถึงข้อตกลง
🙊ขั้นตอนที่2 การให้เด็กหาพื้นที่ของตนเอง
🙊ขั้นตอนที่3 การเข้าสู่การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
🙊ขั้นตอนที่4 การเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา
🙊ขั้นตอนที่5 การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ


📎งานที่อาจารย์มอบหมาย 📖
อาจารย์ได้แจกกระดาษเอสี่คนละหนึ่งแผ่นเพื่อเขียนแผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะคนละจำนวนหนึ่งแผน จากนั้นให้นักศึกษากลุ่มที่หนึ่งได้ทดลองสอนและให้นักศึกษากลุ่มอื่นๆทดลองสอบในคาบเรียนถัดไป






💚การประเมิน💛

ประเมินตนเอง
มีความพร้อมในการเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จัดทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมาย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการเตรียมความพร้อมในการสอน และอุปกรณ์ต่างๆ

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

🌅การเรียนรู้ในวันนี้👱

กิจกรรมที่ 1 อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มตามโรงเรียนที่ได้ไปสังเกตการสอนจากนั้นให้นักศึกษาทบทวนความรู้ที่มีอยู่ โดยอาจารย์ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องของนวัตกรรมในการสอนและอาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมในการสอนต่างๆดังนี้

รูปแบบการจัดการเรียนการแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการเป็นวิธีที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่น ครูที่ใช้การสอนแบบนี้ได้อย่างเหมาะสม เด็กจะมีแรงจูงใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ทั้งนี้ โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)
2. การทำงานภาคสนาม (Field Work)
3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation)
4. การสืบค้น (Investigation)
5. การจัดแสดง (Display)


รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคป
เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลายด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

รูปแบบการจัดการเรียนสอนแบบวอร์ดอฟ
การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ

การสอนแบบภาษาธรรมชาติ
การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น

รูปแบบการสอนแบบมอนเตสเซอรี่
ช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระในด้านบุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย"สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระบบมอนเตสเซอรี่ คือ การจัดระบบเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพที่แท้จริง และความต้องการของเด็ก เพื่อเด็กจะได้พัฒนาบุคลิกภาพของเขาลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็ก เด็กมีอิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ ซึ่งสนองความพอใจ และความต้องการภายในของเขา เป็นการจัดระบบของตนเอง เพื่อเด็กจะได้ปรับตัวเข้ากับสภาพของสังคมและสิ่งมีชีวิตต่างๆ

หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มเราถึงกิจกรรมที่ได้ทำกันในแต่ละวันและได้ให้ความรู้ว่าในแต่ละวันเด็กควรที่จะมีกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ประกอบด้วย


👉1.กิจกรรมเครื่องไหวและจังหวะ 
👉2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
👉3.กิจกรรมเสรี 
👉4.กิจกรรมสร้างสรรค์
👉5.กิจกรรมกลางแจ้ง
👉6.กิจกรรมเกมการศึกษา


กิจกรรมที่ 2 จากนั้นอาจารย์ให้ร้องเพลงกุมมือกันและเพลงนั่งสมาธิ
ของศาสตราจารย์อำไพ สุจริตคุณ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกเพลงไปใช้เก็บเด็ก

ครูพูดกับเด็กช้าๆเด็กยืนขึ้นยืนตัวตรง เด็กเด็กยกมือขวามากุม 
ที่ข้อมือซ้ายแล้วหลับตาลงช้าๆแล้วครูร้องเพลง 
✋เพลงมือกุมกัน ✋
มือกุมกันแล้วก็ยืนตรงตรง(ซ้ำ)
ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนตรง 
(เมื่อร้องจบ)ครูพูดกับเด็กว่ายกมือขวามาไว้ข้างลำตัวเรายกมือซ้ายมาวางข้างลำตัว
แล้วเด็กๆค่อยๆลืมตาขึ้น

🙇เพลงนั่งสมาธิ🙏
นั่งขัดสมาธิให้ดี สองมือวางทับกันทันที 
หลับตาตั้งตัวตรงสิ ตั้งสติให้ดีภาวนาในใจ
พุธโธ พุธโธ พุธโธ



กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้อาจารย์แจกกระดาษชาร์ทให้กลุ่มละหนึ่งแผ่นและสีกลุ่มละหนึ่งกล่องให้แต่ละกลุ่มปรึกษากันเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่เคยเรียนมาว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างมีสิ่งที่เคยเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะอะไรบ้าง จากนั้นอาจารย์ให้นำชาร์ทของทุกกลุ่มมา ติดเรียงกันไว้ที่หน้าห้องอย่างเหมาะสมแล้วอาจารย์ก็ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นอันเสร็จสิ้นของกิจกรรมภายในวันนี้







💚การประเมิน💛

ประเมินตนเอง
มีความพร้อมในการเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน จัดทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมาย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการสอน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการเตรียมความพร้อมในการสอน และอุปกรณ์ต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปบทความ


ครูปฐมวัยกับบทบาทนักออกแบบ

จัดการ การเรียนรู้ 

Play+Learn at home


การจัดการเรียนรู้ให้เด็ก 1 คน ไม่ได้เป็นเรื่องของของครูเพียงคนเดียว หรือจะต้องเกิดขึ้นที่โรงเรียนอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ โดยอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครอง รวมไปถึงชุมชน ในการจัดการทรัพยากร สภาพแวดล้อม ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างภาวะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของพวกเขา เมื่อสถานการณ์โรคระบาดคือจุดพลิกผันครั้งใหญ่ของวงการการศึกษาทั่วโลก ครูและนักเรียนต้องปรับรูปแบบการเรียนรู้มาเป็นออนไลน์เท่าที่จะทำได้ หนึ่งในคำถามยอดฮิตท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ นอกเหนือจากเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือและอินเทอร์เน็ตแล้ว การจัดการเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยจะมีทิศทางอย่างไรในเมื่อเด็กยังเล็กมากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนการพัฒนาด้านอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กวัยนี้จะทำได้อย่างไรเมื่อไม่ได้เจอครูในห้องเรียนจริง

เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของครูปฐมวัยที่ต้องเพิ่มบทบาทเป็น “นักออกแบบหลักสูตรและกิจกรรม” ที่มีความยืดหยุ่น ปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สำคัญคือ ครูและพ่อแม่ต้องเป็นทีมเดียวกันอย่างเหนียวแน่นไม่ต่างอะไรกับการจูงมือประคองให้เด็กเดินพวกเขาจะก้าวเดินได้อย่างมั่นใจไม่ล้มลงกลางทางเมื่อมีคนคอยประคองทั้งซ้ายและขวา

การใช้เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นเท่าการเรียนรู้ที่มีการลงมือปฏิบัติ และหลากหลายแล้วในสถานการณ์แบบนี้ครูจะจัดการเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยโดยร่วมมือกับพ่อแม่อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สรุปวิจัย

เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
 ปริญญานิพนธ์ ของ กิตติศักดิ เกตุนุติ 

การวิจัยครั้งนี้ทําให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย ที่นํามาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนในชั้นเรียนและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของครูที่จะนําไปใช้เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย 

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 

 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย โดยมีคุณสมบัติดังนี้  

     1.1 ครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัยเป็นเวลาไม่ น้อยกว่า 10 ปี 

     1.2 นักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัยที่มีประสบการณ์การทํางานกับเด็กปฐมวัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี

 2. เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กําลังเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555  

3. ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนในระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 และสนใจนํารูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ไปใช้ 

สรุปผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ สรุปผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้ 

1. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถ ทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ประกอบด้วย ความเป็นมาและ ความสําคัญ ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์กลุ่มเป้ าหมาย เนื้อหา การจัด กระบวนการเรียนรู้ระยะเวลา บรรยากาศและสภาพแวดล้อม การประเมินผลการเรียนรู้และการนํา รูปแบบไปใช้เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถ ทางการคิดวิจารณญาณ 6 ด้าน ได้แก่ การจํา การเข้าใจ การประยุกต์การวิเคราะห์ การประเมิน และการสังเคราะห์โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ 

ขั้นที่ 1 ขั้นปลุกสมอง (Boosting = B) เป็นขั้นตอนที่เด็กเคลื่อนไหวร่างกาย ด้วยท่าบริหารสมอง (Brain Gym) โดยมีเสียงเพลงและเสียงดนตรีประกอบกิจกรรม เพื่อเป็นการ เตรียมความพร้อมของสมองก่อนเรียนรู้ กระตุ้นการส่งข้อมูลไปมาระหว่างสมองซีกซ้ายและขวา รวมทั้งเป็นการปรับคลื่นสมองเพื่อช่วยให้การทํางานของสมองทํางานประสานกันได้ดีเกิดสมาธิและ จดจ่อในการทํากิจกรรม 

ขั้นที่ 2 ขั้นระบุและเชื่อมโยง (Remarking and Relating = R) เป็นขั้นตอนที่ เด็กตั้งคําถามและระบุปญหาหรือประเด็นที่ต้องการ ั จะศึกษา และทบทวนเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมว่า หัวข้อหรือประเด็นที่จะเรียนรู้นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและ/หรือสําคัญกับตัวเด็กอย่างไร เป็นการ กระตุ้นความสนใจให้เด็กเกิดความต้องการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของสิ่งที่จะได้เรียนรู้นั้นผ่าน กิจกรรมสังเกต สื่อและ/หรือ สถานการณ์โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า และถ่ายทอดออกมาด้วยการ อธิบายและ/หรือสร้างเป็นชิ้นงานทั้งเดี่ยวหรือกลุ่ม 

ขั้นที่ 3 ขั้นค้นหาคําตอบ (Acquiring = A) เป็นขั้นตอนที่เด็กประมวลภาพรวม ของข้อมูลต่างๆ โดยการวางแผนว่าเรื่องหรือประเด็นนั้นควรจะเรียนรู้ด้วยวิธีการใด และลงมือปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปญหาหรือค้นหาคําตอบตามประเด็นที่ ั เด็กเลือก เป็นการส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรม สํารวจสิ่งแวดล้อมและเกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบ รวมทั้งให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์และทํางานร่วมกับคน อื่นๆ โดยผ่านกิจกรรมการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้แก่ การระดมสมอง การทัศนศึกษา การทดลอง การสัมภาษณ์ และการทํางานร่วมกับผู้อื่น  

ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปผล (Inferring = I) เป็นขั้นตอนที่เด็กได้ทบทวนและไตร่ตรอง เกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการสืบค้นคําตอบ แล้วพิจารณาความรู้ที่ได้เพื่อประเมินว่าผลที่ได้ว่าน่าเชื่อถือ มี จุดดีหรือจุดที่ควรปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 131  

ขั้นที่ 5 ขั้นนําเสนอผล (Notifying = N) เป็นขั้นตอนที่เด็กนําความรู้ที่ได้ ค้นพบมาดัดแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ หรือวางแผน ออกแบบ และนําเสนอผลการศึกษาให้กับผู้อื่นได้รับรู้ ผ่านกิจกรรมการอธิบายผลงาน การเขียน การวาดภาพ การแสดงการทดลองในสิ่งที่เรียนรู้ และการ แสดงนิทรรศการ ท่ามกลางบรรยากาศที่สนุกสบายและพึงพอใจ การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อ ส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน ประเมินให้มี ค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18 

2. การทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อ ส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N โดยการนํา รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ไปใช้กับเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลอง และนํารูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบปกติไปใช้กับเด็กปฐมวัยกลุ่มควบคุม จากนั้นนําค่าเฉลี่ยของคะแนน ความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลองของเด็กทั้งสองกลุ่ม มาเปรียบเทียบกัน ปรากฏผลดังนี้ 2.1 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองมีความสามารถทางการคิดวิจารณญาณ เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งแยกเป็นรายด้านและภาพรวม แสดงว่ารูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N สามารถส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย ได้ 2.2 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มี ความสามารถทางการคิดวิจารณญาณในภาพรวม และด้านการประยุกต์เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการจํา การเข้าใจ การวิเคราะห์ การประเมิน และการสังเคราะห์หลังการ ทดลองไม่แตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3 ก่อนการทดลองเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความสามารถทางการ คิดวิจารณญาณไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .01 ทั้งแยกรายด้านและภาพรวม แสดง ว่าก่อนการทดลองเด็กทั้งสองกลุ่มมีความสามารถทางการคิดวิจารณญาณใกล้เคียงกัน 2.4 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N มีความสามารถทางการคิดวิจารณญาณสูงกว่าเด็กปฐมวัยกลุ่ม ควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .01 แสดงว่ารูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N มีประสิทธิผลในการส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณ ของเด็กปฐมวัยได้สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 132 3. การขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถ ทาง การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิด วิจารณญาณสําหรับเด็กปฐมวัยตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00-4.71