เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N
เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์
ของ
กิตติศักดิ เกตุนุติ
การวิจัยครั้งนี้ทําให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย ที่นํามาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอนในชั้นเรียนและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของครูที่จะนําไปใช้เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
1. ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย โดยมีคุณสมบัติดังนี้
1.1 ครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัยเป็นเวลาไม่
น้อยกว่า 10 ปี
1.2 นักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัยที่มีประสบการณ์การทํางานกับเด็กปฐมวัย
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี
2. เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กําลังเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
3. ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนในระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 และสนใจนํารูปแบบ
การจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ไปใช้
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ สรุปผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้
1. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ประกอบด้วย ความเป็นมาและ
ความสําคัญ ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์กลุ่มเป้
าหมาย เนื้อหา การจัด
กระบวนการเรียนรู้ระยะเวลา บรรยากาศและสภาพแวดล้อม การประเมินผลการเรียนรู้และการนํา
รูปแบบไปใช้เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถ
ทางการคิดวิจารณญาณ 6 ด้าน ได้แก่ การจํา การเข้าใจ การประยุกต์การวิเคราะห์ การประเมิน
และการสังเคราะห์โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน
คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นปลุกสมอง (Boosting = B) เป็นขั้นตอนที่เด็กเคลื่อนไหวร่างกาย
ด้วยท่าบริหารสมอง (Brain Gym) โดยมีเสียงเพลงและเสียงดนตรีประกอบกิจกรรม เพื่อเป็นการ
เตรียมความพร้อมของสมองก่อนเรียนรู้ กระตุ้นการส่งข้อมูลไปมาระหว่างสมองซีกซ้ายและขวา
รวมทั้งเป็นการปรับคลื่นสมองเพื่อช่วยให้การทํางานของสมองทํางานประสานกันได้ดีเกิดสมาธิและ
จดจ่อในการทํากิจกรรม
ขั้นที่ 2 ขั้นระบุและเชื่อมโยง (Remarking and Relating = R) เป็นขั้นตอนที่
เด็กตั้งคําถามและระบุปญหาหรือประเด็นที่ต้องการ ั จะศึกษา และทบทวนเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมว่า
หัวข้อหรือประเด็นที่จะเรียนรู้นั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและ/หรือสําคัญกับตัวเด็กอย่างไร เป็นการ
กระตุ้นความสนใจให้เด็กเกิดความต้องการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของสิ่งที่จะได้เรียนรู้นั้นผ่าน
กิจกรรมสังเกต สื่อและ/หรือ สถานการณ์โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า และถ่ายทอดออกมาด้วยการ
อธิบายและ/หรือสร้างเป็นชิ้นงานทั้งเดี่ยวหรือกลุ่ม
ขั้นที่ 3 ขั้นค้นหาคําตอบ (Acquiring = A) เป็นขั้นตอนที่เด็กประมวลภาพรวม
ของข้อมูลต่างๆ โดยการวางแผนว่าเรื่องหรือประเด็นนั้นควรจะเรียนรู้ด้วยวิธีการใด และลงมือปฏิบัติ
เพื่อแก้ไขปญหาหรือค้นหาคําตอบตามประเด็นที่ ั เด็กเลือก เป็นการส่งเสริมให้เด็กเกิดพฤติกรรม
สํารวจสิ่งแวดล้อมและเกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบ รวมทั้งให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์และทํางานร่วมกับคน
อื่นๆ โดยผ่านกิจกรรมการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้แก่ การระดมสมอง การทัศนศึกษา
การทดลอง การสัมภาษณ์ และการทํางานร่วมกับผู้อื่น
ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปผล (Inferring = I) เป็นขั้นตอนที่เด็กได้ทบทวนและไตร่ตรอง
เกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการสืบค้นคําตอบ แล้วพิจารณาความรู้ที่ได้เพื่อประเมินว่าผลที่ได้ว่าน่าเชื่อถือ มี
จุดดีหรือจุดที่ควรปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
131
ขั้นที่ 5 ขั้นนําเสนอผล (Notifying = N) เป็นขั้นตอนที่เด็กนําความรู้ที่ได้
ค้นพบมาดัดแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ หรือวางแผน ออกแบบ และนําเสนอผลการศึกษาให้กับผู้อื่นได้รับรู้
ผ่านกิจกรรมการอธิบายผลงาน การเขียน การวาดภาพ การแสดงการทดลองในสิ่งที่เรียนรู้ และการ
แสดงนิทรรศการ ท่ามกลางบรรยากาศที่สนุกสบายและพึงพอใจ
การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อ
ส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน ประเมินให้มี
ค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
0.18
2. การทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อ
ส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัยทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N โดยการนํา
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N ไปใช้กับเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลอง และนํารูปแบบการ
จัดการเรียนรู้แบบปกติไปใช้กับเด็กปฐมวัยกลุ่มควบคุม จากนั้นนําค่าเฉลี่ยของคะแนน
ความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลองของเด็กทั้งสองกลุ่ม
มาเปรียบเทียบกัน ปรากฏผลดังนี้
2.1 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองมีความสามารถทางการคิดวิจารณญาณ
เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งแยกเป็นรายด้านและภาพรวม แสดงว่ารูปแบบการ
จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N สามารถส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ได้
2.2 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มี
ความสามารถทางการคิดวิจารณญาณในภาพรวม และด้านการประยุกต์เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสําคัญทาง
สถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการจํา การเข้าใจ การวิเคราะห์ การประเมิน และการสังเคราะห์หลังการ
ทดลองไม่แตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 ก่อนการทดลองเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความสามารถทางการ
คิดวิจารณญาณไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .01 ทั้งแยกรายด้านและภาพรวม แสดง
ว่าก่อนการทดลองเด็กทั้งสองกลุ่มมีความสามารถทางการคิดวิจารณญาณใกล้เคียงกัน
2.4 หลังการทดลองเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการ
จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N มีความสามารถทางการคิดวิจารณญาณสูงกว่าเด็กปฐมวัยกลุ่ม
ควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .01 แสดงว่ารูปแบบการ
จัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N มีประสิทธิผลในการส่งเสริมความสามารถทางการคิดวิจารณญาณ
ของเด็กปฐมวัยได้สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
132
3. การขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ทาง การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ B-R-A-I-N เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิด
วิจารณญาณสําหรับเด็กปฐมวัยตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่
2 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00-4.71