ครูปฐมวัยกับบทบาทนักออกแบบ
จัดการ การเรียนรู้
Play+Learn at home
การจัดการเรียนรู้ให้เด็ก 1 คน ไม่ได้เป็นเรื่องของของครูเพียงคนเดียว หรือจะต้องเกิดขึ้นที่โรงเรียนอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ โดยอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครอง รวมไปถึงชุมชน ในการจัดการทรัพยากร สภาพแวดล้อม ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างภาวะที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของพวกเขา เมื่อสถานการณ์โรคระบาดคือจุดพลิกผันครั้งใหญ่ของวงการการศึกษาทั่วโลก ครูและนักเรียนต้องปรับรูปแบบการเรียนรู้มาเป็นออนไลน์เท่าที่จะทำได้ หนึ่งในคำถามยอดฮิตท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ นอกเหนือจากเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือและอินเทอร์เน็ตแล้ว การจัดการเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยจะมีทิศทางอย่างไรในเมื่อเด็กยังเล็กมากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนการพัฒนาด้านอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กวัยนี้จะทำได้อย่างไรเมื่อไม่ได้เจอครูในห้องเรียนจริง
เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของครูปฐมวัยที่ต้องเพิ่มบทบาทเป็น “นักออกแบบหลักสูตรและกิจกรรม” ที่มีความยืดหยุ่น ปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สำคัญคือ ครูและพ่อแม่ต้องเป็นทีมเดียวกันอย่างเหนียวแน่นไม่ต่างอะไรกับการจูงมือประคองให้เด็กเดินพวกเขาจะก้าวเดินได้อย่างมั่นใจไม่ล้มลงกลางทางเมื่อมีคนคอยประคองทั้งซ้ายและขวา
การใช้เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นเท่าการเรียนรู้ที่มีการลงมือปฏิบัติ และหลากหลายแล้วในสถานการณ์แบบนี้ครูจะจัดการเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยโดยร่วมมือกับพ่อแม่อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น